facebook เลือกเนื้อหาขึ้นมาให้เราอ่านอย่างไร (ตอนที่ 2)
facebook เลือกเนื้อหาขึ้นมาให้เราอ่านอย่างไร (ตอนที่ 1)
ต่อจากตอนที่แล้ว เราคุยกันว่ามีตัวแปรสี่ตัว ที่มีผลต่อการแสดงโพสต์หรือฟีดต่างๆ บนหน้าเฟซบุ๊กของเรา นั่นก็คือคือ 1) ใครเป็นคนโพสต์ หรือเราสนใจอ่านหรือมีปฏิสัมพันธ์กับคนที่โพสต์ขนาดไหน (Creator) 2) ประสิทธิภาพของโพสต์เมื่อเทียบกับโพสต์ของผู้ใช้งานอื่นๆ 3) ประเภทของโพสต์ (Type) เช่น สถานะ รูปภาพ ลิงค์ ที่เราชอบอ่าน และ 4) โพสต์นี้เก่าใหม่แค่ไหน (Recency) โดยเฟซบุ๊ก จะคำนวณคะแนนให้ และนำผลนั้นมาแสดงจัดลำดับโพสต์บนหน้าฟีดของเรา ถ้าไม่แน่ใจให้ดูรูปข้างล่างประกอบนะครับ
1. ใครเป็นคนโพสต์ (Creator หรือ Who Posted It) เรียกได้ว่ายิ่งเรามีปฏิกิริยากับคนโพสต์มากเท่าไหร่ เฟซบุ๊คก็จะคิดว่าเราน่าจะอยากจะปฏิสัมพันธ์กับคนโพสต์มากเท่านั้น การมีปฏิกิริยากับคนโพสต์ก็เช่น การกดไลค์ การคอมเมนต์ หรือการที่เราไม่ได้ขยับหน้าจอไปไหนแล้วอ่าน หรือแม้แต่การเปิดดูหน้าโปรไฟล์ การแท๊ก หรือถูกแท๊กก็ตาม ทีนี้ไม่สงสัยแล้วนะครับว่าทำไมเราไม่เคยเห็นหรือไม่ค่อยเห็นเพื่อนหลายคนที่เป็นเพื่อนกัน ทั้งๆ ที่เค้าโพสต์อยู่ประจำ เพราะเราไม่ได้มีปฏิสัมพันธ์อะไรกับเค้านั่นเอง ดังนั้นอย่าแปลกใจครับว่าทำไมเราจะเห็นโพสต์ของบางคนตลอดทั้งที่เค้าโพสต์อะไรไม่มีสาระหรือเซลฟี่หน้าแอ๊บแบ๊วของตัวเองลงไป หรือบ่นว่าทำไมตัวเองอ้วน เพราะเราไปกดไลค์เค้า หรือไปคอมเมนต์ปลอบใจเค้านั่นเอง
2. ประสิทธิภาพของโพสต์เมื่อเทียบกับโพสต์ของผู้ใช้งานอื่นๆ หรือคนอื่นๆ มีส่วนร่วมกับโพสต์นี้มากน้อยแค่ไหน (How Other People Engaged With The Post) แปลว่าโพสต์นั้นยิ่งมีคนมาแสดงความมีส่วนร่วมมากเท่าไหร่ ไม่ว่าจะเป็นการกดไลค์หรือคอมเมนต์ โพสต์นั้นก็จะถูกเฟซบุ๊กคิดว่าคุณน่าจะสนใจเหมือนกันนะ แต่ไม่แปลกใจนะครับ ทำไมโพสต์ประเภทเซลฟี่ใส่ฟิลเตอร์หน้าตัวเองแอ๊บแบ๊วได้รับการขึ้นในฟีด เพราะคนชอบไปกดไลค์นั่นเอง ซึ่งไม่รู้จะไปกดไลค์กันทำไมเหมือนกัน
3. ประเภทของโพสต์ (What Type Of Post Is it) คือเฟซบุ๊กจะดูว่าเรามีส่วนร่วมหรือปฏิสัมพันธ์กับโพสต์ประเภทไหน เช่น สเตตัส ลิงค์ รูป วีดีโอ อีเวนท์ การย้ายงาน หรือ เนื้อหาจากแอพพลิเคชั่นอื่นๆ ยิ่งเรามีปฏิสัมพันธ์กับเฟซบุ๊กมากเท่าไหร่ เฟซบุ๊กจะแสดงผลการโพสต์ประเภทนั้นกับเรามากเท่านั้น
4. โพสต์นี้เก่าใหม่แค่ไหน (When It Was Posted) เฟซบุ๊กจะให้ความสำคัญกับโพสต์ที่เกิดขึ้นล่าสุดมากกว่าโพสต์เก่าๆ เฟซบุ๊กยังเช็คอีกว่าเราเช็คฟีดเราล่าสุดเมื่อไหร่ และจะแสดงผลย้อนหลังอันล่าสุดที่เราเข้าอ่าน ถ้าเราเช็คเฟซบุ๊กแบบถี่ๆ เฟซบุ๊กก็จะจัดอันดับให้โพสต์อันล่าสุดขึ้นมาก่อน แต่ถ้าเราไม่เข้าเฟซบุ๊กสักอาทิตย์ เฟซบุ๊กก็ยังจะขึ้นข่าวใหญ่ของเพื่อนเราในระหว่างอาทิตย์นึงที่เราหายไป
จากปัจจัยหลักทั้งสี่ตัวข้างบนรวมกัน เฟซบุ๊กจะคำนวณว่าจะเอาโพสต์ไหนขึ้นในฟีดของเรา และจะปรับไปเรื่อยๆ ตามพฤติกรรมของเรา แต่นอกจากปัจจัยสี่ตัวข้างบนแล้ว เฟซบุ๊กยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่เอามาคำนวณด้วยครับ แต่น้ำหนักการให้คะแนนไม่เท่าข้างต้น เช่น มีโพสต์ไหนที่มีคนแชร์หรือโพสต์ซ้ำๆ กัน เฟซบุ๊กก็จะให้คะแนนสูง เช่น กรณีของคุณน๊อต หรือคุณเบส ล่าสุด ที่เราจะได้อ่านเต็มฟีดไปหมด หรือในกรณีที่เฟซบุ๊กมีฟังก์ชั่นใหม่ๆ เช่น สไลด์ หรือ วีดีโอสดๆ ก็อาจจะแสดงผลมากกว่าปกติเพื่อทดสอบ Feedback จากผู้ใช้งานนั่นเอง
คลิกที่นี่ : http://www.workbythai.com/
facebook เลือกเนื้อหาขึ้นมาให้เราอ่านอย่างไร (ตอนที่ 2)
Reviewed by รับเขียนโปรแกรมworkbythai
on
01:30
Rating:
ไม่มีความคิดเห็น: