facebook เลือกเนื้อหาขึ้นมาให้เราอ่านอย่างไร (ตอนที่ 1)



บังเอิญมีคนถามมาหลังไมค์อยากให้อธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับอัลกอริทึ่มการทำงานของเฟซบุ๊กที่ใช้ในการแสดงนิวส์ฟีด (News Feed) ดังนั้นโพสต์นี้จะเป็นเนื้อหาต่อเนื่องจากโพสต์ก่อนนี้นะครับที่บอกว่าข้อความนิวส์ฟีดบนเฟซบุ๊กจะทำให้เราใจแคบมากขึ้น ใครไม่ทันก็อ่านในลิงค์นี้นะครับ (อัลกอริทึ่มของเฟซบุ๊กทำให้คนใจแคบมากขึ้น?)  ซึ่งโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค ก็เป็นอีกหนึ่งในเครื่องมือที่ทรัมพ์ใช้ในการหาเสียงอย่างมีประสิทธิภาพมาก
ลองอ่านดูนะครับ เผื่อใครสนใจอยากจะหลุดจากวงจร Echo Chamber หรือห้องสะท้อนเสียงก้องกัน เพื่อไม่ตกเป็นทาสข้อมูลจากเฟซบุ๊ก
หลักคิดของการแสดงนิวส์ฟีดบนหน้าเฟซบุ๊กของผู้ใช้งานแต่ละคนจะเน้นไปที่การแสดงเนื้อหาหรือโพสต์ที่ "เกี่ยวข้อง" กับผู้ใช้งานให้มากที่สุดเพื่อสร้างประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับคนใช้งาน ดังนั้นอัลกอริทึ่มของเฟซบุ๊กจะเลือกเนื้อหาที่ "คิดว่า" ดีที่สุดสำหรับเราจากเนื้อหาโพสต์มหาศาลนับพันในแต่ละวัน ถามว่าทำไมต้องเลือกที่ดีที่สุด ไม่เอามาหมด เพราะว่า 1) คนใช้งานก็คงไม่อยากเสียเวลา scroll down ผ่านเนื้อหาไปเรื่อยๆ จนกว่าที่เจอว่าตัวเองสนใจคืออะไร 2) หน้าจอคอมพิวเตอร์ มือถือ และแทบเล็ตมีจำกัด และ 3) สืบเนื่องจากข้อ 1 และ 2 เวลาแสดงโฆษณาจะได้ไม่หว่านแห แสดงได้ตรงประสิทธิภาพ ทำให้คนลงโฆษณาอยากลง ไม่ต้องเสียคลิ๊กหรือ วิวฟรีๆ
ซึ่งเนื้อหาที่ขึ้นมาบนฟีด เฟซบุ๊กหวังดีช่วยเราจัดอันดับให้เรียบร้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องใหญ่ๆ อย่างญาติพี่น้องแต่งงาน ข่าวสารที่เพื่อนๆ นับสิบช่วยกันแชร์ เนื้อหาโฆษณาโดยสินค้า หรือเรื่องน่าเบื่อๆ มีคนบ่นไปวันๆ โดยเฟซบุ๊กจะจัดอันดับเรื่องราวจากเรื่องที่เรากดไลค์ แชร์ คลิ๊ก หรือใช้เวลาในการอ่าน (อย่างที่คุณกำลังอ่านโพสต์ของผมในตอนนี้) ซึ่งสิ่งเหล่านี้ครับ เฟซบุ๊กจะเรียกมันว่า "การมีส่วนร่วม" หรือ Engagement นั่นเอง ซึ่งข้อมูลการแสดงนี้เฟซบุ๊คได้ทำการวิจัยมาเรียบร้อยแล้วว่าคนส่วนใหญ่อยากเห็นเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับตนเองแบบไหน ซึ่งหลักการคือยิ่งเนื้อหาทำให้เราอยากเกี่ยวข้องหรือมีส่วนร่วมมากเท่าไหร่ เราก็จะยิ่งอยากกลับมาใช้เฟซบุ๊คมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งนี่แหละครับคือโอกาสทางธุรกิจของเฟซบุ๊คในการแทรกโฆษณา
ก่อนหน้าที่เฟซบุ๊คจะปรับอัลกอริทึ่มเพื่อเพิ่มการมีส่วนร่วมของผู้ใช้งาน เฟซบุ๊คพบว่าปัญหาหลักของการใช้งานบนเฟซบุ๊คคือ จำนวนผู้ใช้งานเพิ่มขึ้น ทำให้จำนวนโพสต์การแชร์เพิ่มขึ้นตามเป็นทวีคูณ แต่การดูข้อมูลของผู้ใช้งานแต่ละคนกลับไปเพิ่มเป็นสัดส่วนเดียวกับจำนวนโพสต์ ซึ่งเหตุผลง่ายๆ ก็คือ หน้าจอมีเท่าเดิม เวลาในการดูมีเท่าเดิม ดังนั้นผู้ใช้งานจำนวนมากจะเลื่อนเนื้อหาลงมาเรื่อยๆ แบบรวดเร็ว ซึ่งทำให้ประสบการณ์ของผู้ใช้งานไม่ค่อยประทับใจ ดังนั้นโจทย์ใหญ่ของอัลกอริทึ่มใหม่คือจะทำอย่างไรให้เนื้อหาที่แสดงเป็นเนื้อหาที่มีส่วนร่วมกับไลฟ์สไตล์ของผู้ใช้งานให้มากที่สุด
รูปภาพข้างล่างคืออัลกอริทึ่มแบบคร่าวๆ ของเฟซบุ๊คในการแสดงเนื้อหานะครับ ซึ่งจะประกอบไปด้วยตัวแปรสี่ตัว คือ 1) ใครเป็นคนโพสต์ หรือเราสนใจอ่านหรือมีปฏิสัมพันธ์กับคนที่โพสต์ขนาดไหน (Creator) 2) ประสิทธิภาพของโพสต์เมื่อเทียบกับโพสต์ของผู้ใช้งานอื่นๆ 3) ประเภทของโพสต์ (Type) เช่น สถานะ รูปภาพ ลิงค์ ที่เราชอบอ่าน และ 4) โพสต์นี้เก่าใหม่แค่ไหน (Recency)
คลิกที่นี่ : http://www.workbythai.com/
facebook เลือกเนื้อหาขึ้นมาให้เราอ่านอย่างไร (ตอนที่ 1) facebook เลือกเนื้อหาขึ้นมาให้เราอ่านอย่างไร (ตอนที่ 1) Reviewed by รับเขียนโปรแกรมworkbythai on 01:01 Rating: 5

ไม่มีความคิดเห็น:

รูปภาพธีมโดย nicolas_. ขับเคลื่อนโดย Blogger.